หรือที่เราเรียกว่า Authenticity เพราะผู้ชมปัจจุบันเขาดูออกว่าใครจริงใจไม่จริงใจ ทำมาขายของหรือทำมาให้ความรู้ และวิดีโอที่ทำเพื่อจะขาย ขาย ขาย ! ก็มักจะถูกมองข้ามเสมอ (ถ้าเขาไม่ได้อยากได้อยู่แล้ว) ดังนั้นเมื่อเรามีแผนจะทำคอนเทนต์วิดีโอ ในตารางคอนเทนต์ต้องมีวิดีโอสนุก ๆ เป็นกันเองอยู่ด้วยในสัดส่วนที่มากกว่าสไตล์อื่น หมั่นทำวิดีโอที่จะเข้าถึงผู้ชมได้ง่าย วิดีโอที่ผู้ชมรู้สึกร่วมด้วยได้ดี แชร์เรื่องราวที่ทั้งดีและแย่ ใช้ภาษาพูดให้เหมือนกับผู้ชมเป็นเพื่อนของเรา โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก
ทำวิดีโอที่เหมาะกับตัวเอง เพราะหนึ่งในความผิดพลาดที่ทำให้วิดีโอของเราไม่ได้ประสิทธิภาพก็เพราะว่า ไปทำวิดีโอที่ไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายของตัวเอง บางคนทำวิดีโอตามเทรนด์ หวังจะได้ยอดวิวเยอะ ๆ แต่ปรากฏว่าได้ยอดวิวจริงแต่ไม่มีคนเข้ามาซื้อของ ไม่มียอดติดตามเยอะขึ้น ดังนั้นเมื่อจะทำวิดีโอ ตัดต่อวิดีโอให้คำนึงถึงเป้าหมายตัวเองแล้วเราจะไม่หลงทางตำน้ำพริกละลายแม่น้ำให้เหนื่อยเปล่า
คำนึงถึง ROI เสมอ การทำวิดีโอหนึ่งตัวต้องสามารถนำไปลงได้ทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรือแม้กระทั่ง Email เพราะปัจจุบันคอนเทนต์ประเภทวิดีโอกำลังเป็นที่นิยมมาก เราควรตัดต่อวิดีโอหนึ่งเรื่องให้ได้หลาย ๆ รูปแบบทั้งแบบวิดีโอสั้น วิดีโอยาว วิดีโอทีเซอร์ไปจนถึงวิดีโอเบื้องหลัง หั่นไปลงตาม Facebook, IG Story, TikTok และ Yout\Tube Shorts เพื่อให้ได้ยอด Engagement ที่มากขึ้น ให้ผู้คนเข้าถึงวิดีโอของเราได้มากขึ้นนั่นเอง
ลงทุนกับเสียงและแสง ทุกครั้งที่ต้องถ่ายทำวิดีโอ ตั้งธงไว้เลยว่าสองสิ่งนี้จะต้องไม่มีที่ติ เพราะคุณสมบัติของสองอย่างนี้จะส่งสัญญาณบอกคนดูให้รู้ทันทีว่าพวกเขาควรจะคลิกดูวิดีโอของเราหรือปัดผ่านไป หากคุณสมบัติสองสิ่งนี้ต่ำกว่ามาตรฐาน ผู้ชมก็ต้องเลือกดูวิดีโอที่คุณภาพสูงกว่า ดังนั้นควรลงทุนกับไมโครโฟนดี ๆ สักตัว เลือกโลเคชั่นจากแสงธรรมชาติ หรือลงทุนกับไฟสักตัว
ทำวิดีโอให้ความรู้ที่ดูสนุก ซึ่งการทำวิดีโอให้สนุกไม่จำเป็นต้องเล่นตลกให้คนขำเสมอไป การทำวิดีโอให้สนุกหมายถึงการรู้จักตัดต่อวิดีโอให้เป็นจังหวะ ถูกจังหวะ มีการใส่ Effect ใส่ Sound ประกอบ ใส่เพลงที่เข้ากับเนื้อหา ใส่ Animate เป็นต้น เพราะแม้แต่หัวข้อที่น่าเบื่อที่สุดก็ยังกลายเป็นหัวข้อที่น่าสนใจได้ด้วยเครื่องมือตัดต่อเหล่านั้น แต่ทั้งนี้เราก็ต้องเข้าใจเรื่องที่จะเล่าเป็นอย่างดี ไม่ใช่ท่องจำมาจนไม่เป็นธรรมชาติ
Do ข้อสุดท้ายที่สำคัญมากก็คือ การเช็กยอดต่าง ๆ หลังบ้านของวิดีโอ หลังจากที่เรากด public เพราะตัวเลขต่าง ๆ เช่น จำนวนการดู จำนวนการมีส่วนร่วม เวลาในการรับชม หรือแม้แต่ยอดขายที่เกิดขึ้นในช่วงที่เราโพสต์วิดีโอไปก็มีความสัมพันธ์กัน ข้อมูลหลังบ้านเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงเนื้อหาวิดีโอในครั้งต่อไปได้ เราจะรู้ว่าผู้ชมหลัก ๆ ชอบอะไร และมาจากที่ไหน เพื่อเก็บไปพัฒนากลยุทธ์การทำวิดีโอให้บรรลุเป้าหมายได้จริง ๆ
Call-To-Action (CTA) ก็คือการที่เราขึ้นไอคอน ปุ่ม หรือลิงก์ต่าง ๆ เพื่อให้คนดูกดระหว่างดูวิดีโอ เช่น ทดลองฟรี, เริ่มเลย, TALK TO US, LEARN MORE, กด Subscribe เพื่อนำผู้ชมไปยังเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งกดซื้อสินค้า ส่วนใหญ่แล้วมือใหม่ที่พึ่งตัดต่อวิดีโอมักไม่ใส่ CTA บนวิดีโอ แต่กลับไปใส่ไว้ใต้คลิป ในลิงก์ หรือใน Description เพราะกลัวคนดูจะมีอคติหาว่าขายของเกินไป แต่ความจริงแล้ว CTA เป็นสิ่งที่รับได้ ใส่ได้ และต้องใส่ โดยตำแหน่งที่ควรใส่ CTA ต้องเป็นตำแหน่งที่มองเห็นง่าย ปุ่มสวย มองไปแล้วสะดุดตาเพื่อให้ผู้ชมคลิก
อยากทำคลิปดัง ๆ อยากให้วิดีโอกลายเป็นคลิปไวรัล ไม่ควรจะถูกตั้งเป็นเป้าหมายของการทำวิดีโอที่ดี เพราะไม่ใช่การตั้งเป้าหมายที่ยั่งยืน การทำวิดีโอหนึ่งคลิปควรจะทำให้คนดูเกิดการรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness) เป็นอันดับแรก แบรนด์เราคืออะไร แบรนด์เราใช้งานอย่างไร มีอะไรที่พิเศษ โดดเด่นกว่าแบรนด์ทั่ว ๆ ไป ให้คนเกิดภาพจำ นั่นถึงจะเป็นโจทย์ที่ดีในการทำวิดีโอ โดยเราอาจใช้ลักษณะบางอย่างที่ทุกวิดีโอไวรัลมีเหมือนกันได้ แต่ถ้ามันไม่กลายเป็นไวรัล อย่างน้อยเราก็ได้ทำให้คนดูรู้จักแบรนด์มากขึ้น
หมดยุคที่คนดูคลิปวิดีโอจะเปิดเสียงฟังเต็มๆ แล้ว จริง ๆ คอนเทนต์วิดีโอปัจจุบันต่างถูกเปลี่ยนให้สามารถดูรู้เรื่องได้โดยไม่เปิดเสียง หากคุณยังไม่รู้หรือไม่ทราบว่า ปัจจุบันคนดูคลิปวิดีโอออนไลน์ในโหมดปิดเสียงมากแค่ไหน คุณต้องรู้ตั้งแต่ตอนนี้เลย แล้วไปใส่ใจกับการทำคำบรรยาย แคปชั่นให้กับวิดีโอของคุณโดยด่วน ขั้นตอนพิเศษนี้ยังช่วยให้ผู้ชมคนอื่นแน่ใจว่าเนื้อหาของคุณเข้าถึงได้แม้แต่ผู้ชมที่หูหนวกหรือมีปัญหาทางการได้ยิน
หนึ่งในสิ่งที่ทำให้หลายคนพลาดโอกาสในการทำวิดีโอให้ได้ยอด Engagement เพิ่มขึ้นได้ง่าย ๆ ก็คือ การแชร์วิดีโอแค่แพลตฟอร์มเดียว การแชร์วิดีโอในหลายแพลตฟอร์มถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำง่าย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ดังนั้นให้เราแชร์วิดีโอของเราไปยังทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แต่อย่าแชร์วิดีโอไซส์เดียวกันทุกแพลตฟอร์ม ให้ปรับไซส์ ตัดวิดีโอให้สั้นยาวเหมาะกับแพลตฟอร์มที่จะลงด้วย เช่น ตัดวิดีโอลง Facebook แล้วตัดวิดีโอเนื้อหาเดียวกันเปลี่ยนไซส์เป็นแนวตั้ง ตัดสั้น ๆ ไปลงใน TikTok ด้วย
การทำวิดีโอปัจจุบันนี้ค่อนข้างที่จะก็อปปี้แล้ววางกันได้ง่าย ๆ (หลายแพลตฟอร์มอนุญาตให้ใช้เทมเพลตเดียวกันได้เลยเช่น IG Story) ซึ่งหลายต่อหลายคนที่ชอบวิธีง่าย ๆ ไว ๆ อาจจะเผลอคิดทำวิดีโอสไตล์เดียวกับคู่แข่งเป๊ะ ๆ แล้วจะได้ยอดแบบเดียวกับเขา ซึ่งเป็นวิธีการทำวิดีโอที่ไม่แนะนำ เพราะเรามีเป้าหมายที่แตกต่างจากคู่แข่ง และเราเองก็มีโอกาสที่จะทำวิดีโอเก่งกว่าสิ่งที่คู่แข่งทำเสียอีก ดังนั้นดูของคนอื่นได้ แต่อย่าไปลอกเขามา
วิดีโอประเภท DIY ก็คือ วิดีโอสไตล์ Casual เข้าถึงง่าย สั้น ๆ ที่ลงตาม IG Story และ TikTok ขอแนะนำว่าสำหรับการทำวิดีโอโชว์สินค้า วิดีโอโฆษณาสินค้าควรจะเป็นวิดีโอที่คุณภาพสูง มีคุณสมบัติที่สามารถจะเป็นวิดีโอโฆษณาได้ ซึ่งปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเสียตังค์จ้าง Production House เลยสักบาทเพราะหลายเว็บไซต์เขามีเทมเพลตฟรีเพื่อให้เราทำวิดีโอโปรโมทสินค้าในรูปแบบที่เหมาะสม (ถ้าใครอยากให้วิดีโอไม่ซ้ำใครก็ต้องสมัครสมาชิก) เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า วิดีโอโฆษณาก็ยังจำเป็นอยู่สำหรับบางสินค้าและบริการ
ที่มาข้อมูล